การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
The Application of GIS with Ethnolinguistic Groups Database via Internet System
ผู้แต่ง
สลิลทิพย์ ชีระภากร
นักศึกษาปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยสยาม
วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์
รองศาสตราจารย์ บัณฑิตวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยสยาม
ปีที่ทำ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)ร่วมกับฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต และตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยนเป็นตัวอย่างในการศึกษาวิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาจัดทำแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ด้วยโปรแกรม ArcView GIS แล้วแปลงให้อยู่ในรูปของ SVG (Scalable Vector Graphic) พร้อมทั้งจัดทำเวบไซต์เพื่อนำเสนอผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต จากผลการวิจัยพบว่า การเผยแพร่ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่สามารถทำได้ในวงกว้างรวมทั้งมีความสะดวกรวดเร็วในการสืบค้น มีผลต่อความรู้ความเข้าใจของคนทั่วไปให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น มีการรับรู้ถึงการมีตัวตนตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนใน กลุ่มชาติพันธุ์แล้วนั้น จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประชากรและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการเสื่อมสลายของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน ทำให้ชุมชนมีขวัญและกำลังใจรวมทั้งเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับชุมชนด้วย รวมทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายภาษา วัฒนธรรม และการศึกษาบนพื้นฐานของประชากรในประเทศต่อไป
การดำเนินงาน
1.การจัดการฐานข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งได้ข้อมูลจากแบบสำรวจที่เก็บข้อมูลในระดับหมู่บ้านกว่า 70,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Access ในการจัดการเป็นหลัก
2.การจัดทำแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นการนำฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์มาเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และฐานข้อมูลเชิงบรรยายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยแปลงฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์จาก .mdb มาเป็น .dbf เพื่อเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และฐานข้อมูลเชิงบรรยายด้วยโปรแกรม ArcView GIS
3.การจัดทำเวบไซต์ ซึ่งแบ่งการจัดทำ คือ บทนำ โดยสร้างเป็น Tree Diagram เพื่อให้เข้าใจง่ายและชัดเจน โดยใช้ Microsoft Visio ในการสร้าง Diagram กลุ่มชาติพันธุ์ โดยการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งหัวข้อในการนำเสนอ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่อยู่อาศัย ประเพณีพิธีกรรม ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver และโปรแกรม Adobe Photoshop
4. การสืบค้น โดยนำแผนที่จากโปรแกรม ArcView GIS มาใช้ในการแสดงตำแหน่งที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ มีการใส่เครื่องมือที่ใช้ในการดูแผนที่ เช่น Zoom in, Zoom out, Pan, Print, Back to original view และ Help เป็นต้น โดยใช้โปรแกรม ArcView GIS ร่วมกับ Extension ชื่อ MapViewSVG ในการจัดทำ
5. ความแตกต่าง โดยนำข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การแต่งงาน การแต่งกาย ประเพณีปีใหม่ และที่อยู่อาศัย เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ร่วมกับ ฐาน ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) สามารถแบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิต ประเพณีพิธีกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งนำเสนอเป็น Text, Graphic และ Multimedia และข้อมูลแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งแสดงข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในเชิงพื้นที่ เช่น การกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ การสืบค้นพื้นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์
สรุป
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ร่วมกับฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ของงานวิจัยชิ้นนี้ มีข้อดีคือทำให้สามารถแสดงข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ในเชิงพื้นที่ เช่น การกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น โดยสามารถเรียกดูข้อมูลพร้อมกันได้ทั้งข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย นอกจากนี้ยังสามารถนำเสนอข้อมูลได้ในวงกว้าง สามารถเข้าถึงข้อมูลทุกส่วนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ผู้สนใจไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงขั้นตอน เทคนิค ตลอดจนยุ่งยากต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นทั้งสิ้น เพราะสิ่งเหล่านั้นได้ถูก Encapsulated ไว้ภายใต้ User Interface ที่ใช้งานง่ายเหมือนเวบไซต์ทั่วไป ผู้สนใจไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากนักก็สามารถใช้งานได้ทันทีอีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมใด ๆ เพิ่มเติมลงในเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย ซึ่งเป็นผลทำให้มีการ เผยแพร่ความหลากหลายของกลุ่มภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวาง มีการสร้างองค์ความรู้ด้านภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ของประชากรในประเทศไทย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานพัฒนาประชากรและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการธำรงรักษา ฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมอันดีงามของกลุ่มชาติพันธุ์ที่กำลังจะถูกกลืนไปในกระแสังคม
ข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยครั้งนี้คือ ควรมีการขยายขอบเขตในการศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ออกไปใน วงกว้าง กล่าวคือ ควรศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ให้ครบทั้ง 5 ตระกูลภาษา 60 กลุ่มชาติพันธุ์ อีกทั้งควรมีการเพิ่ม Layer ของพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ถนน แม่น้ำ ผืนป่า พื้นที่เกษตรกรรมตลอดจนภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น