วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

งานวิจัย การประยุกต์ใช้ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ



การประยุกต์ใช้ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ
(Application of Geo-Informatics
for Coastal Change Monitoring in Pattani Province)
ผู้แต่ง
อดุลย์ เบ็ญนุ้ย ,รุจ ศุภวิไล,พยอม รัตนมณี ,อานันต์,คําภีระ,ธิรดา ยงสถิตศักดิ์
และพีระพิทย์ พืชมงคล
ปีที่ทำ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1.ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
2.คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3.ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วัตถประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทางทะเลจังหวัดปัตตานี โดยประยุกต์ใช้ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ
ประกอบด้วยข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
2.2 เพื่อทดลองนําข้อมูลดาวเทียม Spot Enhancement รายละเอียดภาพขนาด 10 เมตร ในระบบ Multispectral และ 5 เมตร, 2.5 เมตร ในระบบ Panchromatic มาประยุกต้ใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทาง ทะเล
2.3 เพื่อหาอัตราการกัดเซาะชายฝั่งทางทะลจังหวัดปัตตานี โดยใช้วิธีการซ้อนทับ (Overlay Technique)ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และทําการจัดลําดับความรุนแรงของพื้นที่เสี่ยงภัยจากการกัดเซาะชายฝั่ง

การดำเนินการ
1.การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม ฯลฯ เก็บรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ
2.เก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้แบบสํารวจและสัมภาษณะบุคคลเกี่ยวกับความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่งทาง ผลกระทบต่ออลักษณะการใช้ประโยชนทีดิน มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่มีอยู่ มูลค่าความเสียหายเนื่องจากการกัดเซาะชายฝั่งและความตระหนักของชุมชนท้องถิ่นในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 5.2 การจัดการแผนที่และภาพถ่าย
3.แปลงข้อมูล แผนที่เชิงเลข (Digital Map) ที่ได้จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้อยู่ในระบบระบบเสนอโครงแผนที่ UTM โดยอ้างอิงระบบพิกัดจากแผนที่ภูมิประเทศ กรมแผนที่ทหาร มาตราส่วน 1: 50,000 ลําดับชุด L7018 5.2.2 สแกนแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ และปรับแก้ความผิดพลาดเชิงเรขาคณิต (Geometric Collection) ด้วยวิธีการกําหนดตําแหน่งจุดควบคุมภาคพื้นดิน (Ground Control Point -G.C.P.) โดยการอ้างอิงจากแผนที่ (Image to map) และกําหนดจุดอ้างอิงกับข้อมูลเสนอถนนที่นําเข้ามาจากแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 ของกรมแผนที่ทหาร ลําดับชุด L7018 โดยใช้จุดอ้างอิงจํานวน 25 จุด ต่อภาพ และใช้เทคนิคการจําลองภาพตัวอย่างใหม่ (Resampling method) แบบ Nearest Neighbor โดยปรับขนาดจุดภาพให้มีขนาด 1 x 1 เมตร 5.2.3 นําข้อมูลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม SPOT Enhancement รายละเอียดภาพขนาด 10 เมตร ในระบบ Multispectral และ 5 เมตร, 2.5 เมตร ในระบบ Panchromatic ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงเลข มากําหนดจุดโดยอ้างอิงกับระบบพิกัด UTM ใช้วิธีการภาพอ้างอิงภาพ (Image to image) กับแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศที่ผ่านการกําหนดจุดอ้างอิงเรียบร้อยแล้ว

ผลที่ได้รับ
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถจําแนกลักษณะการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลบริเวณจังหวัดปัตตานี ออกเป็น 3 ลักษณะคือ ชายฝั่งที่มีการกัดเซาะ ชายฝั่งที่มีการสะสมตัวและชายฝั่งคงสภาพ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 6.1.1 ชายฝั่งทะเลที่มีการกัดเซาะ (Erosional Coast) คือ กระบวนการทางธรณีวิทยาที่ทําให้ดินและตะกอนทรายที่ประกอบกันอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งหลุดร่วงหรือเคลื่อนที่ไปจากตําแหน่งเดิม โดยมีตัวการที่ทําให้เกิดการกัดเซาะ ได้แก่ คลื่น ลม กระแสน้ําขึ้นน้ําลง และกิจกรรมของมนุษย์ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า พื้นที่ที่มีการกัดเซาะชายฝั่งในเขตจังหวัดปัตตานี (ตารางที่ 1 และรูปที่ 3) สามารถจําแนกได้ 2 ระดับ คือ 1) ชายฝั่งทะเลที่มีการกัดเซาะรุนแรง (อัตราการกัดเซาะ > 5 เมตรต่อปี ) ประกอบด้วยพื้นที่บริเวณต่อไปนี้ 1.1) พื้นที่ 1 ชายฝั่งบ้านตันหยงเปาว์ ตําบล ท่ากําชํา อําเภอหนองจิก พื้นที่กัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้ยาวประมาณ 3,757 เมตร ตั้งแต่เขื่อนกั้นทรายปากคลองท่ายามูไปทางทิศตะวันตกจนถึงบ้านบางราพา ตําบลท่ากําชํา มีความกว้างเฉลี่ยประมาณ 104 เมตร มีแนวกัดเซาะกว้างสุดประมาณ 252 เมตร บริเวณหลังโรงเรียนตันหยงเปาว์ ทางด้านทิศตะวันตกของเขื่อนกั้นทรายปากคลองท่ายามู อัตราการกัดเซาะบริเวณนี้มีประมาณ 8.71 เมตรต่อปี โดยมีเนื้อที่กัดเซาะทั้งหมดประมาณ 392,951 ตารางเมตร (245 ไร่)

สรุป
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณจังหวัดปัตตานี โดยการประยุกต์ใช้ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และนํามากําหนดพื้นที่เสี่ยงภัยจากการกัดเซาะชายฝั่ง สามารถจัดลําดับความรุนแรงของพื้นที่เสี่ยงภัยจากการกัดเซาะชายฝั่งได้ดังนี้คือ พื้นที่เสี่ยงภัยลําดับที่ 1 ได้แก่ ชายฝั่งทะเลบ้านตะโล่ะสะมิแล-บ้านดาโต้ะ ตําบลแหลมโพธิ์ อําเภอยะหริ่ง พื้นที่เสี่ยงภัยลําดับที่ 2 ได้แก่ ชายฝั่งทะเลบ้านบางมะรวด ตําบลปะนาเระ อําเภอปะนาเระ พื้นที่เสี่ยงภัยลําดับที่ 3 ได้แก่ ชายฝั่งทะเลบ้านตันหยงเปาว์ ตําบลท่ากําชํา อําเภอหนองจิก พื้นที่เสี่ยงภัยลําดับที่ 4 ได้แก่ชายฝั่งทะเลบ้านบน-บ้านลุ่ม ตําบลปะเสยะวอ อําเภอสายบุรี พื้นที่เสี่ยงภัยลําดับที่ 5 ได้แก่ ชายฝั่งทะเลบ้านคลองต่ํา ตําบลปะนาเระ อําเภอปะนาเระ พื้นที่เสี่ยงภัยลําดับที่ 6 ได้แก่ ชายฝั่งทะเลบ้านปากบางตาวา ตําบลบางตาวา อ.หนองจิก การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในแต่ละพื้นที่ในปัจจุบันมีทั้งหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ได้ไปแก้ไขปัญหาโดยการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทั้งในรูปแบบของ เขื่อนกันคลื่น กําแพงกันคลื่น และรอดักทราย สามารถป้องกันผลกระทบจากการกัดเซาะได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ปัญหาหากัดเซาะชายฝั่งแต่ละพื้นที่ยังคงดําเนินอยู่ต่อไป ในการประยุกต์ใช้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศประกอบการศึกษาในครั้งนี้ ไม่ได้ทําการปรับแก้ข้อมูลด้วยกระบวนการออร์โธโฟโต (Orthophoto rectification) ดังนั้นข้อมูลขอบเขตชายฝั่งจึงมีความคลาดเคลื่อนในระดับ (ค) รอดักทราย (Groin) (ง) การถมหรือบูรณะหาด (Beach Nourishment) (จ) กองหินหัวหาด (Headland) (ฉ) แนวปะการังเทียม (Artificial Coral Reef)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.rsgis.psu.ac.th/Research/research_page1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น