แนวทางการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผน
ผู้แต่ง กลุ่มศึกษาและสนับสนุนองค์กรปกครองท้องถิ่น
หน่วยงานรับผิดชอบ
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัตถุประสงค์
การสร้างระบบข้อมูลข่าวสารหรือระบบสารสนเทศที่หน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนปฏิบัติงานและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพัฒนาระบบสารสนเทศของโครงการ
การดำเนินการ
วิธีการดำเนินงานเป็น 3 ขึ้นตอน
1 ศึกษาสถานภาพของข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันและความต้องการใช้ข้อมูล
ของหน่วยงานต่างๆ เพื่อวิเคราะห์และหาข้อสรุปเกี่ยวกับเนื้อหาของสารสนเทศที่ต้องการ และกำหนดโครงสร้างของระบบสารสนเทศที่จะพัฒนา
2 ออกแบบพัฒนาระบบ รวมทั้งการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
3 ทดสอบระบบสารสนเทศ และปรับปรุงแก้ไข
ผลที่ได้รับ
การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนที่นำเสนอ ได้แสดงตัวอย่างการใช้ข้อมูลที่มีในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการลุ่มน้ำภาคเหนือในการวางแผนงานสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ คือ ระดับภาคและระดับลุ่มน้ำ นอกจากนี้ รายละเอียดของตัวแปรต่างๆ ที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ก็ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ควรจะเป็น ทำให้ผลการวิเคราะห์ที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นในการตัดสินใจเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดของรายละเอียดข้อมูลที่มีอยู่ ดังนั้น หากมีความต้องการวางแผนในเรื่องใดที่มีรายการข้อมูลที่ไม่เพียงพอก็จำเป็จจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมอีก และหากต้องการให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นแล้วสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ก็จำเป็นต้องมีการเพิ่มเติมและปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยหรือเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
สรุป ข้อเสนอแนะ
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถแสดงรายการข้อมูลบนพื้นที่ได้ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลทำความเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ง่าย ชัดเจน และรวดเร็ว ทำให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับแผนงานและแนวทางการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้ในการวางแผน นักวางแผนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วย เนื่องจากโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์แต่ละโปรแกรมจะมีวิธีการ ข้อจำกัดในการใช้งานแตกต่างกัน และสิ่งสำคัญ คือ จะต้องศึกษาว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่เลือกใช้นั้น พัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพราะระบบสารสนเทศโดยทั่วไปจะพัฒนาขึ้นตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ หรือมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกันไปตามกลุ่มผู้ใช้ ดังนั้น เนื้อหาหรือรายการข้อมูลเรื่องเดียวกัน ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ต่างกัน อาจจะมีรายละเอียดของข้อมูลต่างกัน การเลือกใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่พัฒนาไว้แล้วจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและรายละเอียดข้อมูลที่อยู่ในระบบว่าสอดคล้องกับความต้องการใช้งานหรือไม่ เพียงใดสิ่งที่สำคัญสำหรับการวางแผน คือ การมีข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย และมีรายละเอียดที่เพียงพอ สำหรับการใช้งาน พื้นที่ที่จะต้องวางแผนยิ่งมีขนาดเล็ก ข้อมูลที่ใช้ก็ต้องมีรายละเอียดที่มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่มีการพัฒนาไว้แล้วเช่นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการลุ่มน้ำภาคเหนือ มักจะไม่มีรายละเอียดข้อมูลที่เพียงพอ อาทิ ข้อมูลแสดงลักษณะต่างๆ ทางกายภาพจะเป็นข้อมูลระดับลุ่มน้ำใหญ่ หรือข้อมูลประชากรจะมีเฉพาะหมู่บ้านที่เป็นหมู่ล้านได้รับการรับรอง ไม่มีข้อมูลประชากรของหมู่บ้านชาวเขาที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อย (หมูบ้านที่ไม่เป็นทางการ) เป็นต้น ดังนั้น หากต้องการวางแผนงานในพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็ก จะต้องทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ทุกโปรแกรมจะเปิดโอกาสผู้ใช้สามารถเพิ่มเติม แก้ไข หรือปรับปรุงข้อมูลได้
ผู้แต่ง กลุ่มศึกษาและสนับสนุนองค์กรปกครองท้องถิ่น
หน่วยงานรับผิดชอบ
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัตถุประสงค์
การสร้างระบบข้อมูลข่าวสารหรือระบบสารสนเทศที่หน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนปฏิบัติงานและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพัฒนาระบบสารสนเทศของโครงการ
การดำเนินการ
วิธีการดำเนินงานเป็น 3 ขึ้นตอน
1 ศึกษาสถานภาพของข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันและความต้องการใช้ข้อมูล
ของหน่วยงานต่างๆ เพื่อวิเคราะห์และหาข้อสรุปเกี่ยวกับเนื้อหาของสารสนเทศที่ต้องการ และกำหนดโครงสร้างของระบบสารสนเทศที่จะพัฒนา
2 ออกแบบพัฒนาระบบ รวมทั้งการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
3 ทดสอบระบบสารสนเทศ และปรับปรุงแก้ไข
ผลที่ได้รับ
การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนที่นำเสนอ ได้แสดงตัวอย่างการใช้ข้อมูลที่มีในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการลุ่มน้ำภาคเหนือในการวางแผนงานสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ คือ ระดับภาคและระดับลุ่มน้ำ นอกจากนี้ รายละเอียดของตัวแปรต่างๆ ที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ก็ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ควรจะเป็น ทำให้ผลการวิเคราะห์ที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นในการตัดสินใจเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดของรายละเอียดข้อมูลที่มีอยู่ ดังนั้น หากมีความต้องการวางแผนในเรื่องใดที่มีรายการข้อมูลที่ไม่เพียงพอก็จำเป็จจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมอีก และหากต้องการให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นแล้วสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ก็จำเป็นต้องมีการเพิ่มเติมและปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยหรือเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
สรุป ข้อเสนอแนะ
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถแสดงรายการข้อมูลบนพื้นที่ได้ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลทำความเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ง่าย ชัดเจน และรวดเร็ว ทำให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับแผนงานและแนวทางการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้ในการวางแผน นักวางแผนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วย เนื่องจากโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์แต่ละโปรแกรมจะมีวิธีการ ข้อจำกัดในการใช้งานแตกต่างกัน และสิ่งสำคัญ คือ จะต้องศึกษาว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่เลือกใช้นั้น พัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพราะระบบสารสนเทศโดยทั่วไปจะพัฒนาขึ้นตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ หรือมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกันไปตามกลุ่มผู้ใช้ ดังนั้น เนื้อหาหรือรายการข้อมูลเรื่องเดียวกัน ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ต่างกัน อาจจะมีรายละเอียดของข้อมูลต่างกัน การเลือกใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่พัฒนาไว้แล้วจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและรายละเอียดข้อมูลที่อยู่ในระบบว่าสอดคล้องกับความต้องการใช้งานหรือไม่ เพียงใดสิ่งที่สำคัญสำหรับการวางแผน คือ การมีข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย และมีรายละเอียดที่เพียงพอ สำหรับการใช้งาน พื้นที่ที่จะต้องวางแผนยิ่งมีขนาดเล็ก ข้อมูลที่ใช้ก็ต้องมีรายละเอียดที่มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่มีการพัฒนาไว้แล้วเช่นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการลุ่มน้ำภาคเหนือ มักจะไม่มีรายละเอียดข้อมูลที่เพียงพอ อาทิ ข้อมูลแสดงลักษณะต่างๆ ทางกายภาพจะเป็นข้อมูลระดับลุ่มน้ำใหญ่ หรือข้อมูลประชากรจะมีเฉพาะหมู่บ้านที่เป็นหมู่ล้านได้รับการรับรอง ไม่มีข้อมูลประชากรของหมู่บ้านชาวเขาที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อย (หมูบ้านที่ไม่เป็นทางการ) เป็นต้น ดังนั้น หากต้องการวางแผนงานในพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็ก จะต้องทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ทุกโปรแกรมจะเปิดโอกาสผู้ใช้สามารถเพิ่มเติม แก้ไข หรือปรับปรุงข้อมูลได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น