วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS
ความหมายของ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
GIS(Geographic Information System)
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคการเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (AttributeData) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ - ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน
องค์ประกอบของ GIS (Components of GIS)
องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotter, Printer หรืออื่น ๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน
2. โปรแกรม
คือชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่น การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล, จัดการระบบฐานข้อมูล, เรียกค้น, วิเคราะห์ และ จำลองภาพ
3. ข้อมูล
คือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแล จากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร
4. บุคลากร
คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS
5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน
คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง
ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
โลกมีความสลับซับซ้อนมากเกินกว่าที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโลกไว้ในรูปข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องเปลี่ยนปรากฏการณ์บน ผิวโลกจัดเก็บในรูปของตัวเลขเชิงรหัส (digital form) โดยแทนปรากฏการณ์เหล่านั้นด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า Feature
ประเภทของ Feature
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลกแผนที่กระดาษบันทึกตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และแทนสิ่งต่างๆ บนโลกที่เป็นลายเส้นและพื้นที่ด้วยสัญลักษณ์แบบ จุด เส้น พื้นที่และตัวอักษร ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ feature ประเภทต่างๆ ในการแทนปรากฏการณ์โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
จุด (Point)
เส้น (Arc)
พื้นที่ (Polygon)
จุด (Point)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีตำแหน่งที่ตั้งเฉพาะเจาะจง หรือมีเพียงอย่างเดียว สามารถแทนได้ด้วยจุด (Point Feature)
หมุดหลักเขต บ่อน้ำ จุดชมวิว จุดความสูง อาคาร ตึก สิ่งก่อสร้าง ข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตราส่วนมาตราส่วนแผนที่จะเป็นตัวกำหนดว่าจะแทนปรากฏการณ์บนโลกด้วยจุดหรือไม่ตัวอย่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดตัวอย่างเช่น บนแผนที่โลก มาตราส่วนเล็กจะแทนค่าที่ตั้งของเมืองด้วยจุด แม้ว่าในความเป็นจริงเมืองนั้นจะครอบคลุมพื้นที่จำนวนหนึ่งก็ตาม ในขณะเดียวกันบนแผนที่มาตราส่วนที่ใหญ่ขึ้นเมืองดังกล่าวจะปรากฏเป็นพื้นที่และแต่ละอาคารจะถูกแทนค่าด้วยจุด ข้อมูลค่าพิกัดของจุด ค่าพิกัด x, y 1 คู่ แทนตำแหน่งของจุด ไม่มีความยาวหรือพื้นที่
ส้น (Arc)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่วางตัวไปตามทางระหว่างจุด 2 จุด จะแทนด้วยเส้น (Arc Feature)
ตัวอย่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเส้น ลำน้ำ ถนน โครงข่ายสาธารณูปโภค
เส้นชั้นความสูง
ข้อจำกัดเกี่ยวกับ Arc
Arc 1 เส้น มี Vertex ได้ไม่เกิน 500 Vertex โดย vertex ลำดับที่ 500 จะเปลี่ยนเป็น node และเริ่มต้น เส้นใหม่ด้วยการ identifier ค่าใหม่โดยอัตโนมัติ ข้อมูลค่าพิกัดของ Arc
Vertex (ค่าพิกัด x, y คู่หนึ่งบน arc) เป็นตัวกำหนดรูปร่างของ arc arc หนึ่งเส้นเริ่มต้นและจบลงด้าน Node
arc ที่ตัดกันจะเชื่อมต่อกันที่ Node ความยาวของ arc กำหนดโดยระบบค่าพิกัด
พื้นที่ (Polygon)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีพื้นที่เดียวกันจะถูกล้อมรอบด้วยเส้นเพื่อแสดงขอบเขต ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นพื้นที่
เขตตำบล อำเภอ จังหวัด ขอบเขตอุทยานแห่งชาติ เขตน้ำท่วม ข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตราส่วน
มาตราส่วนของแหล่งที่มาของข้อมูลจะเป็นตัวกำหนดการแทนปรากฏการณ์บนโลกแห่งความเป็นจริงด้วย point หรือ polygon ตัวอย่าง เช่น อาคารบนมาตราส่วนขนาดใหญ่ เช่น 1 : 4,000 เป็น polygon ที่ถูกกำหนดขึ้น โดยขอบเขตอาคาร
บนแผนที่ 1 : 50,000 ที่มาตราส่วนเล็ก อาคารจะแสดงด้วยจุด ข้อมูลค่าพิกัดของ Polygon polygon จะประกอบด้วย arc ตั้งแต่ 1 เส้นขึ้นไป แต่มี 1 Label point มี Label point 1 point อยู่ภายในพื้นที่ปิดและใช้ในการแยกแยะแต่ละ polygon ออกจากกัน
http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html
http://www.eng.ubu.ac.th/~gis/
วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
งานวิจัย การประยุกต์ใช้ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ
การประยุกต์ใช้ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ
(Application of Geo-Informatics
for Coastal Change Monitoring in Pattani Province)
ผู้แต่ง
อดุลย์ เบ็ญนุ้ย ,รุจ ศุภวิไล,พยอม รัตนมณี ,อานันต์,คําภีระ,ธิรดา ยงสถิตศักดิ์
และพีระพิทย์ พืชมงคล
ปีที่ทำ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1.ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
2.คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3.ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วัตถประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทางทะเลจังหวัดปัตตานี โดยประยุกต์ใช้ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ
ประกอบด้วยข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
2.2 เพื่อทดลองนําข้อมูลดาวเทียม Spot Enhancement รายละเอียดภาพขนาด 10 เมตร ในระบบ Multispectral และ 5 เมตร, 2.5 เมตร ในระบบ Panchromatic มาประยุกต้ใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทาง ทะเล
2.3 เพื่อหาอัตราการกัดเซาะชายฝั่งทางทะลจังหวัดปัตตานี โดยใช้วิธีการซ้อนทับ (Overlay Technique)ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และทําการจัดลําดับความรุนแรงของพื้นที่เสี่ยงภัยจากการกัดเซาะชายฝั่ง
การดำเนินการ
1.การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม ฯลฯ เก็บรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ
2.เก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้แบบสํารวจและสัมภาษณะบุคคลเกี่ยวกับความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่งทาง ผลกระทบต่ออลักษณะการใช้ประโยชนทีดิน มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่มีอยู่ มูลค่าความเสียหายเนื่องจากการกัดเซาะชายฝั่งและความตระหนักของชุมชนท้องถิ่นในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 5.2 การจัดการแผนที่และภาพถ่าย
3.แปลงข้อมูล แผนที่เชิงเลข (Digital Map) ที่ได้จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้อยู่ในระบบระบบเสนอโครงแผนที่ UTM โดยอ้างอิงระบบพิกัดจากแผนที่ภูมิประเทศ กรมแผนที่ทหาร มาตราส่วน 1: 50,000 ลําดับชุด L7018 5.2.2 สแกนแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ และปรับแก้ความผิดพลาดเชิงเรขาคณิต (Geometric Collection) ด้วยวิธีการกําหนดตําแหน่งจุดควบคุมภาคพื้นดิน (Ground Control Point -G.C.P.) โดยการอ้างอิงจากแผนที่ (Image to map) และกําหนดจุดอ้างอิงกับข้อมูลเสนอถนนที่นําเข้ามาจากแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 ของกรมแผนที่ทหาร ลําดับชุด L7018 โดยใช้จุดอ้างอิงจํานวน 25 จุด ต่อภาพ และใช้เทคนิคการจําลองภาพตัวอย่างใหม่ (Resampling method) แบบ Nearest Neighbor โดยปรับขนาดจุดภาพให้มีขนาด 1 x 1 เมตร 5.2.3 นําข้อมูลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม SPOT Enhancement รายละเอียดภาพขนาด 10 เมตร ในระบบ Multispectral และ 5 เมตร, 2.5 เมตร ในระบบ Panchromatic ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงเลข มากําหนดจุดโดยอ้างอิงกับระบบพิกัด UTM ใช้วิธีการภาพอ้างอิงภาพ (Image to image) กับแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศที่ผ่านการกําหนดจุดอ้างอิงเรียบร้อยแล้ว
ผลที่ได้รับ
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถจําแนกลักษณะการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลบริเวณจังหวัดปัตตานี ออกเป็น 3 ลักษณะคือ ชายฝั่งที่มีการกัดเซาะ ชายฝั่งที่มีการสะสมตัวและชายฝั่งคงสภาพ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 6.1.1 ชายฝั่งทะเลที่มีการกัดเซาะ (Erosional Coast) คือ กระบวนการทางธรณีวิทยาที่ทําให้ดินและตะกอนทรายที่ประกอบกันอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งหลุดร่วงหรือเคลื่อนที่ไปจากตําแหน่งเดิม โดยมีตัวการที่ทําให้เกิดการกัดเซาะ ได้แก่ คลื่น ลม กระแสน้ําขึ้นน้ําลง และกิจกรรมของมนุษย์ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า พื้นที่ที่มีการกัดเซาะชายฝั่งในเขตจังหวัดปัตตานี (ตารางที่ 1 และรูปที่ 3) สามารถจําแนกได้ 2 ระดับ คือ 1) ชายฝั่งทะเลที่มีการกัดเซาะรุนแรง (อัตราการกัดเซาะ > 5 เมตรต่อปี ) ประกอบด้วยพื้นที่บริเวณต่อไปนี้ 1.1) พื้นที่ 1 ชายฝั่งบ้านตันหยงเปาว์ ตําบล ท่ากําชํา อําเภอหนองจิก พื้นที่กัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้ยาวประมาณ 3,757 เมตร ตั้งแต่เขื่อนกั้นทรายปากคลองท่ายามูไปทางทิศตะวันตกจนถึงบ้านบางราพา ตําบลท่ากําชํา มีความกว้างเฉลี่ยประมาณ 104 เมตร มีแนวกัดเซาะกว้างสุดประมาณ 252 เมตร บริเวณหลังโรงเรียนตันหยงเปาว์ ทางด้านทิศตะวันตกของเขื่อนกั้นทรายปากคลองท่ายามู อัตราการกัดเซาะบริเวณนี้มีประมาณ 8.71 เมตรต่อปี โดยมีเนื้อที่กัดเซาะทั้งหมดประมาณ 392,951 ตารางเมตร (245 ไร่)
สรุป
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณจังหวัดปัตตานี โดยการประยุกต์ใช้ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และนํามากําหนดพื้นที่เสี่ยงภัยจากการกัดเซาะชายฝั่ง สามารถจัดลําดับความรุนแรงของพื้นที่เสี่ยงภัยจากการกัดเซาะชายฝั่งได้ดังนี้คือ พื้นที่เสี่ยงภัยลําดับที่ 1 ได้แก่ ชายฝั่งทะเลบ้านตะโล่ะสะมิแล-บ้านดาโต้ะ ตําบลแหลมโพธิ์ อําเภอยะหริ่ง พื้นที่เสี่ยงภัยลําดับที่ 2 ได้แก่ ชายฝั่งทะเลบ้านบางมะรวด ตําบลปะนาเระ อําเภอปะนาเระ พื้นที่เสี่ยงภัยลําดับที่ 3 ได้แก่ ชายฝั่งทะเลบ้านตันหยงเปาว์ ตําบลท่ากําชํา อําเภอหนองจิก พื้นที่เสี่ยงภัยลําดับที่ 4 ได้แก่ชายฝั่งทะเลบ้านบน-บ้านลุ่ม ตําบลปะเสยะวอ อําเภอสายบุรี พื้นที่เสี่ยงภัยลําดับที่ 5 ได้แก่ ชายฝั่งทะเลบ้านคลองต่ํา ตําบลปะนาเระ อําเภอปะนาเระ พื้นที่เสี่ยงภัยลําดับที่ 6 ได้แก่ ชายฝั่งทะเลบ้านปากบางตาวา ตําบลบางตาวา อ.หนองจิก การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในแต่ละพื้นที่ในปัจจุบันมีทั้งหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ได้ไปแก้ไขปัญหาโดยการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทั้งในรูปแบบของ เขื่อนกันคลื่น กําแพงกันคลื่น และรอดักทราย สามารถป้องกันผลกระทบจากการกัดเซาะได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ปัญหาหากัดเซาะชายฝั่งแต่ละพื้นที่ยังคงดําเนินอยู่ต่อไป ในการประยุกต์ใช้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศประกอบการศึกษาในครั้งนี้ ไม่ได้ทําการปรับแก้ข้อมูลด้วยกระบวนการออร์โธโฟโต (Orthophoto rectification) ดังนั้นข้อมูลขอบเขตชายฝั่งจึงมีความคลาดเคลื่อนในระดับ (ค) รอดักทราย (Groin) (ง) การถมหรือบูรณะหาด (Beach Nourishment) (จ) กองหินหัวหาด (Headland) (ฉ) แนวปะการังเทียม (Artificial Coral Reef)
แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.rsgis.psu.ac.th/Research/research_page1.htm
งานวิจัย แนวทางการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผน
แนวทางการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผน
ผู้แต่ง กลุ่มศึกษาและสนับสนุนองค์กรปกครองท้องถิ่น
หน่วยงานรับผิดชอบ
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัตถุประสงค์
การสร้างระบบข้อมูลข่าวสารหรือระบบสารสนเทศที่หน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนปฏิบัติงานและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพัฒนาระบบสารสนเทศของโครงการ
การดำเนินการ
วิธีการดำเนินงานเป็น 3 ขึ้นตอน
1 ศึกษาสถานภาพของข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันและความต้องการใช้ข้อมูล
ของหน่วยงานต่างๆ เพื่อวิเคราะห์และหาข้อสรุปเกี่ยวกับเนื้อหาของสารสนเทศที่ต้องการ และกำหนดโครงสร้างของระบบสารสนเทศที่จะพัฒนา
2 ออกแบบพัฒนาระบบ รวมทั้งการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
3 ทดสอบระบบสารสนเทศ และปรับปรุงแก้ไข
ผลที่ได้รับ
การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนที่นำเสนอ ได้แสดงตัวอย่างการใช้ข้อมูลที่มีในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการลุ่มน้ำภาคเหนือในการวางแผนงานสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ คือ ระดับภาคและระดับลุ่มน้ำ นอกจากนี้ รายละเอียดของตัวแปรต่างๆ ที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ก็ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ควรจะเป็น ทำให้ผลการวิเคราะห์ที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นในการตัดสินใจเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดของรายละเอียดข้อมูลที่มีอยู่ ดังนั้น หากมีความต้องการวางแผนในเรื่องใดที่มีรายการข้อมูลที่ไม่เพียงพอก็จำเป็จจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมอีก และหากต้องการให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นแล้วสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ก็จำเป็นต้องมีการเพิ่มเติมและปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยหรือเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
สรุป ข้อเสนอแนะ
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถแสดงรายการข้อมูลบนพื้นที่ได้ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลทำความเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ง่าย ชัดเจน และรวดเร็ว ทำให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับแผนงานและแนวทางการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้ในการวางแผน นักวางแผนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วย เนื่องจากโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์แต่ละโปรแกรมจะมีวิธีการ ข้อจำกัดในการใช้งานแตกต่างกัน และสิ่งสำคัญ คือ จะต้องศึกษาว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่เลือกใช้นั้น พัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพราะระบบสารสนเทศโดยทั่วไปจะพัฒนาขึ้นตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ หรือมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกันไปตามกลุ่มผู้ใช้ ดังนั้น เนื้อหาหรือรายการข้อมูลเรื่องเดียวกัน ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ต่างกัน อาจจะมีรายละเอียดของข้อมูลต่างกัน การเลือกใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่พัฒนาไว้แล้วจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและรายละเอียดข้อมูลที่อยู่ในระบบว่าสอดคล้องกับความต้องการใช้งานหรือไม่ เพียงใดสิ่งที่สำคัญสำหรับการวางแผน คือ การมีข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย และมีรายละเอียดที่เพียงพอ สำหรับการใช้งาน พื้นที่ที่จะต้องวางแผนยิ่งมีขนาดเล็ก ข้อมูลที่ใช้ก็ต้องมีรายละเอียดที่มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่มีการพัฒนาไว้แล้วเช่นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการลุ่มน้ำภาคเหนือ มักจะไม่มีรายละเอียดข้อมูลที่เพียงพอ อาทิ ข้อมูลแสดงลักษณะต่างๆ ทางกายภาพจะเป็นข้อมูลระดับลุ่มน้ำใหญ่ หรือข้อมูลประชากรจะมีเฉพาะหมู่บ้านที่เป็นหมู่ล้านได้รับการรับรอง ไม่มีข้อมูลประชากรของหมู่บ้านชาวเขาที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อย (หมูบ้านที่ไม่เป็นทางการ) เป็นต้น ดังนั้น หากต้องการวางแผนงานในพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็ก จะต้องทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ทุกโปรแกรมจะเปิดโอกาสผู้ใช้สามารถเพิ่มเติม แก้ไข หรือปรับปรุงข้อมูลได้
ผู้แต่ง กลุ่มศึกษาและสนับสนุนองค์กรปกครองท้องถิ่น
หน่วยงานรับผิดชอบ
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัตถุประสงค์
การสร้างระบบข้อมูลข่าวสารหรือระบบสารสนเทศที่หน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนปฏิบัติงานและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพัฒนาระบบสารสนเทศของโครงการ
การดำเนินการ
วิธีการดำเนินงานเป็น 3 ขึ้นตอน
1 ศึกษาสถานภาพของข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันและความต้องการใช้ข้อมูล
ของหน่วยงานต่างๆ เพื่อวิเคราะห์และหาข้อสรุปเกี่ยวกับเนื้อหาของสารสนเทศที่ต้องการ และกำหนดโครงสร้างของระบบสารสนเทศที่จะพัฒนา
2 ออกแบบพัฒนาระบบ รวมทั้งการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
3 ทดสอบระบบสารสนเทศ และปรับปรุงแก้ไข
ผลที่ได้รับ
การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนที่นำเสนอ ได้แสดงตัวอย่างการใช้ข้อมูลที่มีในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการลุ่มน้ำภาคเหนือในการวางแผนงานสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ คือ ระดับภาคและระดับลุ่มน้ำ นอกจากนี้ รายละเอียดของตัวแปรต่างๆ ที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ก็ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ควรจะเป็น ทำให้ผลการวิเคราะห์ที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นในการตัดสินใจเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดของรายละเอียดข้อมูลที่มีอยู่ ดังนั้น หากมีความต้องการวางแผนในเรื่องใดที่มีรายการข้อมูลที่ไม่เพียงพอก็จำเป็จจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมอีก และหากต้องการให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นแล้วสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ก็จำเป็นต้องมีการเพิ่มเติมและปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยหรือเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
สรุป ข้อเสนอแนะ
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถแสดงรายการข้อมูลบนพื้นที่ได้ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลทำความเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ง่าย ชัดเจน และรวดเร็ว ทำให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับแผนงานและแนวทางการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้ในการวางแผน นักวางแผนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วย เนื่องจากโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์แต่ละโปรแกรมจะมีวิธีการ ข้อจำกัดในการใช้งานแตกต่างกัน และสิ่งสำคัญ คือ จะต้องศึกษาว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่เลือกใช้นั้น พัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพราะระบบสารสนเทศโดยทั่วไปจะพัฒนาขึ้นตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ หรือมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกันไปตามกลุ่มผู้ใช้ ดังนั้น เนื้อหาหรือรายการข้อมูลเรื่องเดียวกัน ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ต่างกัน อาจจะมีรายละเอียดของข้อมูลต่างกัน การเลือกใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่พัฒนาไว้แล้วจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและรายละเอียดข้อมูลที่อยู่ในระบบว่าสอดคล้องกับความต้องการใช้งานหรือไม่ เพียงใดสิ่งที่สำคัญสำหรับการวางแผน คือ การมีข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย และมีรายละเอียดที่เพียงพอ สำหรับการใช้งาน พื้นที่ที่จะต้องวางแผนยิ่งมีขนาดเล็ก ข้อมูลที่ใช้ก็ต้องมีรายละเอียดที่มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่มีการพัฒนาไว้แล้วเช่นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการลุ่มน้ำภาคเหนือ มักจะไม่มีรายละเอียดข้อมูลที่เพียงพอ อาทิ ข้อมูลแสดงลักษณะต่างๆ ทางกายภาพจะเป็นข้อมูลระดับลุ่มน้ำใหญ่ หรือข้อมูลประชากรจะมีเฉพาะหมู่บ้านที่เป็นหมู่ล้านได้รับการรับรอง ไม่มีข้อมูลประชากรของหมู่บ้านชาวเขาที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อย (หมูบ้านที่ไม่เป็นทางการ) เป็นต้น ดังนั้น หากต้องการวางแผนงานในพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็ก จะต้องทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ทุกโปรแกรมจะเปิดโอกาสผู้ใช้สามารถเพิ่มเติม แก้ไข หรือปรับปรุงข้อมูลได้
งานวิจัย การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล
การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล
สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
เพื่อศึกษาวิจัยและการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสิ่งแวดล้อม
ผู้แต่ง
พงษ์สันติ์ สีจันทร์ ชวลิต ฮงประยูร กุมุท สังขศิลา เกวลิน ศรีจันทร์
อัญธิชา พรมเมืองคุก จีรวัฒน์ พุ่มเพชร วัลยา แซ่เตียว สุมาลี พบบ่อเงิน
ปีที่ทำ 26 ธันวามคม พ.ศ.2547
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
วัตถุประสงค์
1.เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสภาพแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง ได้แก่ ขอบเขตพื้นที่ ตำแหน่งสถานที่ การใช้ที่ดิน สภาพภูมิประเทศ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ป่าชายเลน สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน การกระจายของฝนในรอบปี
2.เพื่อจัดทำแผนที่แสดงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
3.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพทรัพยากรดินและลักษณะภูมิประเทศภายหลังการเกิดภัยธรรมชาติคลื่นสึนามิ
4.เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และฐานข้อมูลทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสภาพแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
วิธีการดำเนินการ
1. รวบรวมเอกสาร แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูง และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ การใช้ที่ดิน สภาพภูมิประเทศ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ป่าชายเลน สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน ในบริเวณพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนองและบริเวณใกล้เคียง
2. สำรวจและจัดทำข้อมูลทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าชายเลน ทรัพยากรน้ำ
3. วิเคราะห์สมบัติทางฟิสิกส์และทางเคมีของทรัพยากรดินและแหล่งน้ำ ในห้องปฏิบัติการ
4. วิเคราะห์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน การกระจายของฝนในรอบปี
5. ศึกษาและวิเคราะห์สภาพทรัพยากรดินและลักษณะภูมิประเทศ ภายหลังการเกิดภัยธรรมชาติคลื่น สึนามิ
6. จัดทำแผนที่แสดงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
7. จัดทำฐานข้อมูลของทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสภาพแวดล้อมในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับสถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
ผลที่ได้จากวิจัย
1.ข้อมูลเชิงพื้นที่ของทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ และการใช้ที่ดิน ในเขตพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินงานจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนในอนาคต
2.ฐานข้อมูลของทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสภาพแวดล้อมในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนองและบริเวณใกล้เคียง
3.แผนที่แสดงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.rsgis.psu.ac.th/
วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
งานวิจัย การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ร่วมกับฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
The Application of GIS with Ethnolinguistic Groups Database via Internet System
ผู้แต่ง
สลิลทิพย์ ชีระภากร
นักศึกษาปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยสยาม
วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์
รองศาสตราจารย์ บัณฑิตวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยสยาม
ปีที่ทำ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)ร่วมกับฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต และตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยนเป็นตัวอย่างในการศึกษาวิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาจัดทำแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ด้วยโปรแกรม ArcView GIS แล้วแปลงให้อยู่ในรูปของ SVG (Scalable Vector Graphic) พร้อมทั้งจัดทำเวบไซต์เพื่อนำเสนอผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต จากผลการวิจัยพบว่า การเผยแพร่ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่สามารถทำได้ในวงกว้างรวมทั้งมีความสะดวกรวดเร็วในการสืบค้น มีผลต่อความรู้ความเข้าใจของคนทั่วไปให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น มีการรับรู้ถึงการมีตัวตนตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนใน กลุ่มชาติพันธุ์แล้วนั้น จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประชากรและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการเสื่อมสลายของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน ทำให้ชุมชนมีขวัญและกำลังใจรวมทั้งเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับชุมชนด้วย รวมทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายภาษา วัฒนธรรม และการศึกษาบนพื้นฐานของประชากรในประเทศต่อไป
การดำเนินงาน
1.การจัดการฐานข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งได้ข้อมูลจากแบบสำรวจที่เก็บข้อมูลในระดับหมู่บ้านกว่า 70,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Access ในการจัดการเป็นหลัก
2.การจัดทำแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นการนำฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์มาเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และฐานข้อมูลเชิงบรรยายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยแปลงฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์จาก .mdb มาเป็น .dbf เพื่อเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และฐานข้อมูลเชิงบรรยายด้วยโปรแกรม ArcView GIS
3.การจัดทำเวบไซต์ ซึ่งแบ่งการจัดทำ คือ บทนำ โดยสร้างเป็น Tree Diagram เพื่อให้เข้าใจง่ายและชัดเจน โดยใช้ Microsoft Visio ในการสร้าง Diagram กลุ่มชาติพันธุ์ โดยการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งหัวข้อในการนำเสนอ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่อยู่อาศัย ประเพณีพิธีกรรม ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver และโปรแกรม Adobe Photoshop
4. การสืบค้น โดยนำแผนที่จากโปรแกรม ArcView GIS มาใช้ในการแสดงตำแหน่งที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ มีการใส่เครื่องมือที่ใช้ในการดูแผนที่ เช่น Zoom in, Zoom out, Pan, Print, Back to original view และ Help เป็นต้น โดยใช้โปรแกรม ArcView GIS ร่วมกับ Extension ชื่อ MapViewSVG ในการจัดทำ
5. ความแตกต่าง โดยนำข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การแต่งงาน การแต่งกาย ประเพณีปีใหม่ และที่อยู่อาศัย เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ร่วมกับ ฐาน ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) สามารถแบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิต ประเพณีพิธีกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งนำเสนอเป็น Text, Graphic และ Multimedia และข้อมูลแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งแสดงข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในเชิงพื้นที่ เช่น การกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ การสืบค้นพื้นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์
สรุป
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ร่วมกับฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ของงานวิจัยชิ้นนี้ มีข้อดีคือทำให้สามารถแสดงข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ในเชิงพื้นที่ เช่น การกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น โดยสามารถเรียกดูข้อมูลพร้อมกันได้ทั้งข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย นอกจากนี้ยังสามารถนำเสนอข้อมูลได้ในวงกว้าง สามารถเข้าถึงข้อมูลทุกส่วนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ผู้สนใจไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงขั้นตอน เทคนิค ตลอดจนยุ่งยากต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นทั้งสิ้น เพราะสิ่งเหล่านั้นได้ถูก Encapsulated ไว้ภายใต้ User Interface ที่ใช้งานง่ายเหมือนเวบไซต์ทั่วไป ผู้สนใจไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากนักก็สามารถใช้งานได้ทันทีอีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมใด ๆ เพิ่มเติมลงในเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย ซึ่งเป็นผลทำให้มีการ เผยแพร่ความหลากหลายของกลุ่มภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวาง มีการสร้างองค์ความรู้ด้านภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ของประชากรในประเทศไทย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานพัฒนาประชากรและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการธำรงรักษา ฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมอันดีงามของกลุ่มชาติพันธุ์ที่กำลังจะถูกกลืนไปในกระแสังคม
ข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยครั้งนี้คือ ควรมีการขยายขอบเขตในการศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ออกไปใน วงกว้าง กล่าวคือ ควรศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ให้ครบทั้ง 5 ตระกูลภาษา 60 กลุ่มชาติพันธุ์ อีกทั้งควรมีการเพิ่ม Layer ของพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ถนน แม่น้ำ ผืนป่า พื้นที่เกษตรกรรมตลอดจนภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ต่อไป
The Application of GIS with Ethnolinguistic Groups Database via Internet System
ผู้แต่ง
สลิลทิพย์ ชีระภากร
นักศึกษาปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยสยาม
วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์
รองศาสตราจารย์ บัณฑิตวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยสยาม
ปีที่ทำ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)ร่วมกับฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต และตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยนเป็นตัวอย่างในการศึกษาวิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาจัดทำแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ด้วยโปรแกรม ArcView GIS แล้วแปลงให้อยู่ในรูปของ SVG (Scalable Vector Graphic) พร้อมทั้งจัดทำเวบไซต์เพื่อนำเสนอผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต จากผลการวิจัยพบว่า การเผยแพร่ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่สามารถทำได้ในวงกว้างรวมทั้งมีความสะดวกรวดเร็วในการสืบค้น มีผลต่อความรู้ความเข้าใจของคนทั่วไปให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น มีการรับรู้ถึงการมีตัวตนตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนใน กลุ่มชาติพันธุ์แล้วนั้น จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประชากรและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการเสื่อมสลายของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน ทำให้ชุมชนมีขวัญและกำลังใจรวมทั้งเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับชุมชนด้วย รวมทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายภาษา วัฒนธรรม และการศึกษาบนพื้นฐานของประชากรในประเทศต่อไป
การดำเนินงาน
1.การจัดการฐานข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งได้ข้อมูลจากแบบสำรวจที่เก็บข้อมูลในระดับหมู่บ้านกว่า 70,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Access ในการจัดการเป็นหลัก
2.การจัดทำแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นการนำฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์มาเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และฐานข้อมูลเชิงบรรยายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยแปลงฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์จาก .mdb มาเป็น .dbf เพื่อเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และฐานข้อมูลเชิงบรรยายด้วยโปรแกรม ArcView GIS
3.การจัดทำเวบไซต์ ซึ่งแบ่งการจัดทำ คือ บทนำ โดยสร้างเป็น Tree Diagram เพื่อให้เข้าใจง่ายและชัดเจน โดยใช้ Microsoft Visio ในการสร้าง Diagram กลุ่มชาติพันธุ์ โดยการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งหัวข้อในการนำเสนอ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่อยู่อาศัย ประเพณีพิธีกรรม ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver และโปรแกรม Adobe Photoshop
4. การสืบค้น โดยนำแผนที่จากโปรแกรม ArcView GIS มาใช้ในการแสดงตำแหน่งที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ มีการใส่เครื่องมือที่ใช้ในการดูแผนที่ เช่น Zoom in, Zoom out, Pan, Print, Back to original view และ Help เป็นต้น โดยใช้โปรแกรม ArcView GIS ร่วมกับ Extension ชื่อ MapViewSVG ในการจัดทำ
5. ความแตกต่าง โดยนำข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การแต่งงาน การแต่งกาย ประเพณีปีใหม่ และที่อยู่อาศัย เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ร่วมกับ ฐาน ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) สามารถแบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิต ประเพณีพิธีกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งนำเสนอเป็น Text, Graphic และ Multimedia และข้อมูลแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งแสดงข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในเชิงพื้นที่ เช่น การกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ การสืบค้นพื้นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์
สรุป
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ร่วมกับฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ของงานวิจัยชิ้นนี้ มีข้อดีคือทำให้สามารถแสดงข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ในเชิงพื้นที่ เช่น การกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น โดยสามารถเรียกดูข้อมูลพร้อมกันได้ทั้งข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย นอกจากนี้ยังสามารถนำเสนอข้อมูลได้ในวงกว้าง สามารถเข้าถึงข้อมูลทุกส่วนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ผู้สนใจไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงขั้นตอน เทคนิค ตลอดจนยุ่งยากต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นทั้งสิ้น เพราะสิ่งเหล่านั้นได้ถูก Encapsulated ไว้ภายใต้ User Interface ที่ใช้งานง่ายเหมือนเวบไซต์ทั่วไป ผู้สนใจไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากนักก็สามารถใช้งานได้ทันทีอีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมใด ๆ เพิ่มเติมลงในเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย ซึ่งเป็นผลทำให้มีการ เผยแพร่ความหลากหลายของกลุ่มภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวาง มีการสร้างองค์ความรู้ด้านภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ของประชากรในประเทศไทย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานพัฒนาประชากรและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการธำรงรักษา ฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมอันดีงามของกลุ่มชาติพันธุ์ที่กำลังจะถูกกลืนไปในกระแสังคม
ข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยครั้งนี้คือ ควรมีการขยายขอบเขตในการศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ออกไปใน วงกว้าง กล่าวคือ ควรศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ให้ครบทั้ง 5 ตระกูลภาษา 60 กลุ่มชาติพันธุ์ อีกทั้งควรมีการเพิ่ม Layer ของพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ถนน แม่น้ำ ผืนป่า พื้นที่เกษตรกรรมตลอดจนภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ต่อไป
งานวิจัย การเฝ้าระวังสถานการณ์สุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
การเฝ้าระวังสถานการณ์สุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
(School canteens sanitary Surveillance by using Applications of GeographicInformation System : GIS)
ผู้แต่ง
นายสุธน เพ็งคุ้ม นักวิชาการสุขาภิบาล 7
นายสมาน ยศปัญญา นักวิชาการสุขาภิบาล 8
นางบุษรา ผลทวี นักวิชาการสุขาภิบาล 7
ปีที่ทำ กรกฎาคม 2544
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข , ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 9 พิษณุโลก
กลุ่มงานสุขาภิบาลอาหาร
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาถึงข้อมูลของประชาชนจากโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำ
2.โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับ
การดำเนินการ
ผลที่จะได้รับ
ได้ทราบถึงข้อมูลในการสำรวจสถานะสุขภาพประชาชนจากโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ พบการเจ็บป่วยได้แก่โรคอุจจาระร่วง โรคอุจจาระร่วงอย่างแรง โรคอาหารเป็นพิษ โรคตับอักเสบเอ และโรคบิด คิดเป็นอัตราป่วย 1,417.57 7.48 226.81 12.84 154.6 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ความเสี่ยงการเกิดโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนจากการศึกษาปัจจัยมาตรฐานโรงอาหารกับความชุกของโรคในพื้นที่ตั้งโรงเรียน แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่โรงเรียนเสี่ยงสูง 14 โรงเรียน เสี่ยงปานกลาง 36 โรงเรียนและเสี่ยงต่ำ 6 โรงเรียน คิดเป็น 25.00% , 64.28% และ 1.71% ตามลำดับ จำนวนนักเรียนที่มีความเสี่ยงการเกิดโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน จำนวน 13,084 คน แบ่งเป็น เสี่ยงสูง 8,881 คน เสี่ยงปานกลาง 7,146 คน และเสี่ยงต่ำ 1,057 คน คิดเป็น 37.00% , 54.62% และ 8.08% ตามลำดับ
สรุป ข้อเสนอแนะ
เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินสถานการณ์สุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนและสถานะสุขภาพของประชาชนด้วยโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำ
(School canteens sanitary Surveillance by using Applications of GeographicInformation System : GIS)
ผู้แต่ง
นายสุธน เพ็งคุ้ม นักวิชาการสุขาภิบาล 7
นายสมาน ยศปัญญา นักวิชาการสุขาภิบาล 8
นางบุษรา ผลทวี นักวิชาการสุขาภิบาล 7
ปีที่ทำ กรกฎาคม 2544
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข , ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 9 พิษณุโลก
กลุ่มงานสุขาภิบาลอาหาร
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาถึงข้อมูลของประชาชนจากโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำ
2.โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับ
การดำเนินการ
ผลที่จะได้รับ
ได้ทราบถึงข้อมูลในการสำรวจสถานะสุขภาพประชาชนจากโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ พบการเจ็บป่วยได้แก่โรคอุจจาระร่วง โรคอุจจาระร่วงอย่างแรง โรคอาหารเป็นพิษ โรคตับอักเสบเอ และโรคบิด คิดเป็นอัตราป่วย 1,417.57 7.48 226.81 12.84 154.6 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ความเสี่ยงการเกิดโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนจากการศึกษาปัจจัยมาตรฐานโรงอาหารกับความชุกของโรคในพื้นที่ตั้งโรงเรียน แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่โรงเรียนเสี่ยงสูง 14 โรงเรียน เสี่ยงปานกลาง 36 โรงเรียนและเสี่ยงต่ำ 6 โรงเรียน คิดเป็น 25.00% , 64.28% และ 1.71% ตามลำดับ จำนวนนักเรียนที่มีความเสี่ยงการเกิดโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน จำนวน 13,084 คน แบ่งเป็น เสี่ยงสูง 8,881 คน เสี่ยงปานกลาง 7,146 คน และเสี่ยงต่ำ 1,057 คน คิดเป็น 37.00% , 54.62% และ 8.08% ตามลำดับ
สรุป ข้อเสนอแนะ
เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินสถานการณ์สุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนและสถานะสุขภาพของประชาชนด้วยโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำ
มธ. จัดอบรม การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่แบบประยุกต์ (Advanced Editing)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่แบบประยุกต์ (Advanced Editing)และการวิเคราะห์เส้นทางคมนาคม (Network Analyst) เพื่อสนับสนุนงานโลจิสติกส์”ศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ กำหนดจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและความรู้เบื้องต้นด้านรีโมทเซนซิง และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจัดทำแผนที่ ทรัพยากร ขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้เริ่มต้นและระดับกลาง ที่สนใจการใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ArcGIS 9.X เพื่อการควบคุมแผนที่ชั้นข้อมูล GIS และภาพถ่ายจากดาวเทียม (รีโมทเซนซิง) ในหลากหลายชนิด และการแสดงผลอย่างมี ประสิทธิภาพ การจัดทำแผนที่ส่งออก เพื่อจัดทำรายงานหรือประกอบการนำเสนอ การควบคุมข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลตาราง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://gis.hotel2samui.net/?p=307
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
กฟภ. ลงทุน 1,770 ล้านบาท ใช้ GIS
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดเผยว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้นำระบบเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ( GIS ) มาประยุกต์ใช้งานในการจัดเก็บข้อมูลภูมิสารสนเทศระบบไฟฟ้ามากว่า 10 ปี แล้ว และปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการพัฒนาสารสนเทศระบบไฟฟ้าทางภูมิศาสตร์ ระยะที่ 2 ซึ่งมีมูลค่าโครงการฯ 1,770 ล้านบาท เพื่อขยายขอบเขตการใช้งานเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ให้มีข้อมูลระบบไฟฟ้าที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการผู้ใช้ไฟ โดยเพิ่มการจัดเก็บข้อมูลระบบจำหน่ายแรงต่ำจนถึงมิเตอร์ของผู้ใช้ไฟทั่ว ประเทศ
โครงการพัฒนาสารสนเทศระบบไฟฟ้าทางภูมิศาสตร์ ระยะที่ 2 มีกำหนดระยะเวลาติดตั้ง 3 ปี ซึ่งได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อและติดตั้งระบบภูมิสารสนเทศแล้วเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2550 กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จในปี 2553
แหล่งอ้างอิงมาจาก http://gis.hotel2samui.net/
สปส. เตรียมนำระบบ GIS มาใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานตรวจสอบและงานเพื่อให้ทราบที่ตั้งของสถานประกอบการ
สำนักงานประกันสังคม เตรียมนำระบบ GIS มาใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานตรวจสอบและงานอื่นๆ เพื่อให้ทราบที่ตั้งของสถานประกอบการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยจับมือกรมโยธาฯขอข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทั่วประเทศเพื่อนำมา ปรับใช้กับงานประกันสังคมทั่วประเทศ จริงๆแล้วสปส.ได้เริ่มนำระบบ GIS มาใช้ในการในงานตรวจสอบสถานประกอบการและให้มีการรณรงค์การขึ้นทะเบียนใน เขตกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2547 โดยร่วมมือกับกรุงเทพมหานครในการใช้แผนที่ฐานเชิงรหัส ซึ่งผลจากการนำเอาระบบดังกล่าวมาใช้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี กล่าวคือส่งผลให้มีจำนวนสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนเพิ่มขึ้นจากการขึ้น ทะเบียนปกติในปี 2547 จำนวน 9,354 แห่ง มีผู้ประกันตน 34,052 ราย ทำให้สปส.สามารถเก็บเงินสมทบเพิ่มมากขึ้นจากปี 2547 ถึง 263 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบ อีกทั้งผลที่ได้ก็ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ สปส.จึงต้องการขยายผลเพื่อนำมาปรับใช้กับสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
แหล่งอ้างอิงมาจาก http://gis.hotel2samui.net/
แหล่งอ้างอิงมาจาก http://gis.hotel2samui.net/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)